เลือกสาย LAN อย่างไรให้เหมาะกับงาน
สาย LAN ถูกแบ่งออกตามประเภทการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งลักษณะการติดตั้ง การป้องกันสัญญาณรบกวน และแบ่งตาม Bandwidth ที่สาย LAN รองรับได้
การเลือกสาย LAN ที่เหมาะกับงานนั้น ควรพิจารณาความต้องการและเงื่อนไขของการใช้งาน เพื่อให้ได้สายที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่ดีสำหรับงานที่ต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายในบริบทที่แตกต่างกัน
รู้จักสาย LAN
สายแลน (LAN Cable) หรือ UTP (Unshielded Twisted Pair)
- เป็นสายนำสัญญาณชนิดทองแดงที่นำมาตีเกลียวกันเป็นคู่ (Twisted Pairs) และหุ้มฉนวน ซึ่งการบิดตีเกลียว (Twisted) ของสายทองแดง จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูลได้ดี
- ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการ รับ-ส่ง ข้อมูล หรือเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายกลาง เช่น Network Switch, Hub และ Router
- ส่วนหัวที่ใช้เชื่อมต่อสาย LAN เรียกว่า RJ45
แบ่งประเภทสาย LAN
ตามลักษณะในการป้องกันสัญญาณรบกวน
- Unshield Twisted Pair (UTP) ไม่มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน เป็นสายทองแดงคู่ บิดตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ป้องกันสัญญาณรบกวน ตัวนำสัญญาณมี 8 เส้น (4คู่) เป็นทองแดงแท้ นิยมใช้กับงานระบบคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป
- Foil Twisted Pair (UTP) มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน สายทองแดงคู่ บิดตีเกลียวแบบมีชิลด์ป้องกันสัญญาณรบกวน มักใช้งานในพื้นที่ ที่มีสัญญาณรบกวนสูง เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ติดตั้งผ่านเครื่องจักรขนาดใหญ่ ไฟฟ้าแรงสูง ปลั๊กไฟ เป็นต้น
ตามลักษณะการติดตั้ง
Indoor Cable ติดตั้งภายในอาคาร: สาย LAN ประเภทนี้ เปลือกนอกนิยมทำจากวัสดุ PVC เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูง และป้องกันการลามไฟได้ดี ซึ่งตามมาตรฐานด้านอัคคีภัยจะต้องมีการใส่สารพิเศษเข้าไปด้วย ทำให้แบ่งรูปแบบสาย LAN Indoor ออกไปได้อีก 4 รูปแบบ คือ
- CM (Communication Metallic)
ป้องกันการลามไฟได้ในแนวราบ มักใช้เดินสายแนวราบในอาคารภายในชั้นเดียวกัน หรืองานอื่นๆ ทั่วไป - CMR (Communication Metallic Riser)
ป้องกันการลามไฟทั้งแนวราบและแนวดิ่ง มักใช้ในการเดินสายสัญญาณระหว่างชั้นในอาคารโดยผ่านช่องเดินสายของตัวอาคาร - CMP (Communication Metallic Plenum)
เหมาะสำหรับการติดตั้งเดินสายบนฝ้าเพดาน หรือบริเวณช่องว่างเหนือฝ้าที่มีอากาศไหลเวียน แต่ไม่สามารถป้องกันการลามไฟในแนวดิ่งได้ - LSZH (Low Smoke Zero Halogen)
ป้องกันการลามไฟได้ทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง พร้อมกับมีคุณสมบัติพิเศษคือ เมื่อเกิดอัคคีภัย สายชนิดนี้จะมีควันน้อยและไม่ก่อให้เกิดสารพิษ
- CM (Communication Metallic)
ตาม Bandwidth ที่รองรับได้
- Category 5E (CAT 5E): เป็นสายที่ทองแดงมีความเร็วต่ำ พัฒนามาจากสาย CAT 5 เดิม รองรับ Bandwidth อยู่ที่ 100-200 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร
- Category 6 (CAT 6): เป็นสายที่ทองแดงมีความเร็ว ผลิตตามมาตรฐานของ Gigabit Ethernet รองรับ Bandwidth อยู่ที่ 250 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 55 เมตร
- Category 6A (CAT 6A): เป็นสายที่ทองแดงมีความเร็ว รองรับ Bandwidth อยู่ที่ 500 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร
Category 7 (CAT 7): เป็นสายที่ทองแดงที่มีความเร็ว รองรับ Bandwidth อยู่ที่ 600 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbps ในระยะห่างไม่เกิน 100 เมตร
- Category 8 (CAT 8): เป็นสายที่ทองแดงมีความเร็ว รองรับ Bandwidth อยู่ที่ 2GHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 25/40 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 30 เมตร
สาย LAN ที่ได้รับความนิยมมานานในช่วงหลายปีนี้ คือ Category 5E (CAT 5E) เพราะมีราคาที่ค่อนข้างถูก มีประสิทธิภาพดี และปัจจุบันสาย Category 6 (CAT 6) และ Category 6A (CAT 6A) ก็กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากราคาไม่ได้สูงมากแล้ว
สาย Patch Cord
- เป็นสาย LAN สำเร็จรูปแบบแกนฝอย โค้งงอและยือหยุ่นได้ดี
- มักผลิตหลายสีเพื่อให้แยกแยะสายได้ง่าย
- เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ต้องการหัก งอ ม้วน ของสาย
- มีความยาวประมาณ 1-20 เมตร
- ใช้สำหรับเชื่อมต่อจาก Patch Panel ไปยัง Network Switch หรือ เชื่อมต่อจาก Box Outlet RJ-45 ตัวเมีย ไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ
Was this helpful?
1 / 0